GPS รถบรรทุก ข้อกำหนดใหม่เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ในแต่ละปี คนไทยจะได้ยินข่าวอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ทั้งจากรถยนต์ส่วนบุคคล รถเมล์สาธารณะ รถตู้ร่วมบริการ และรถบรรทุก ซึ่งรถบรรทุกนี่เองที่เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วก่อความเสียหายทั้งแก่ชีวิตและทรัพย์สินมาก เพราะรถมีขนาดใหญ่ เมื่อเกิดการเสียหลักมักทำให้บังคับควบคุมรถได้ยากลำบากกว่ารถขนาดเล็กอื่นๆ
แต่เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559 ที่ผ่าน กรมการขนส่งทางบกได้กำหนดให้ รถบรรทุกและรถโดยสารสาธารณะทุกประเภท รถลากจูง และรถบรรทุกขนาดใหญ่ 10 ล้อขึ้นไป โดยยกเว้น รถสองแถว รถหมวด 4 และรถหมวด 1 ภูมิภาค ที่จดทะเบียนใหม่ ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2559 เป็นต้นไป ต้องติดตั้ง GPS หรือ Global Positioning System โดย GPS จะทำงานร่วมกับดาวเทียมที่ลอยอยู่จำนวน 24 ตัว ทั้ง 24 ตัวนี้จะจับตำแหน่งเครื่องรับสัญญาณ GPS ที่ติดตั้งอยู่ที่อุปกรณ์ต่างๆ ในปัจจุบันบันมี GPS ในหลายระบบ แต่ละระบบก็แล้วแต่ประเทศที่ผลิตเทคโนโลยี เช่น GLONASS เป็นระบบของรัสเซีย Galileo เป็นระบบที่ยุโรปร่วมกับจีน อิสราเอล อินเดีย โมร็อกโก ซาอุดิอาระเบีย เกาหลีใต้และยูเครน Beidou เป็นระบบของประเทศจีน QZSS ระบบของญี่ปุ่น สำหรับประเทศไทยนั้นมีจำนวนไม่น้อยที่เลือกใช้ระบบ QZSS อย่างไรก็ดี เนื่องจากดาวเทียมญี่ปุ่นมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับจีน รัสเซีย หรืออเมริกา ญี่ปุ่นจึงพยายามพัฒนาบริการเสริมต่างๆ พ่วงเข้าไปด้วย เช่นบริการค่าแก้ผ่านดาวเทียม อย่างไรก็ดี เงินลงทุนที่ญี่ปุ่นจะดำเนินการวิจัยสำหรับดาวเทียม QZSS 4 ดวง ราว ๆ 5 หมื่นล้านบาท และกำลังศึกษาความเหมาะสมที่จะส่งดาวเทียมค้างฟ้า (geostationary) เพิ่มอีก 3 ดวง โดยรวม GPS รถบรรทุกนี้จะเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับศูนย์บริหารจัดการเดินรถของกรมการขนส่งทางบก ที่นอกจากจะรู้ว่ารถบรรทุกอยู่ตำแหน่งใดในโลกนี้แล้ว ยังสามารถเก็บข้อมูลได้ว่ารถคันนั้นๆ ใช้ความเร็วเท่าไหร่ ขับขี่ไปแล้วกี่ชั่วโมง ซึ่งเป็นการสอดส่องและติดตามพฤติกรรมผู้ขับรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุกได้อย่างดี
สำหรับรถบรรทุกที่ติด GPS ก็ยังต้องมีอุปกรณ์เสริมอีกเล็กน้อย ได้แก่ อุปกรณ์ติดตามรถแบบออฟไลน์ เพื่อทำหน้าที่เก็บข้อมูลตำแหน่งพิกัดเมื่อต้องการดึงหรือดูข้อมูล ต้องนำตัวเครื่อง GPS รถบรรทุก มาต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อถ่ายข้อมูล แต่การติดตามแบบออฟไลน์นี้ก็ไม่สามารถตรวจสอบตำแหน่งที่เป็น real time หรือ ปัจจุบันได้, อุปกรณ์ติดตามรถแบบกึ่งออฟไลน์ โดยทำงานร่วมกับซิมการ์ดในโทรศัพท์มือถือ โดยที่ระบบจะส่งข้อมูลพิกัดผ่านระบบข้อความสั้น ทั้งนี้ต้องมีการเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ต และไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังได้, อุปกรณ์ติดตามแบบออนไลน์ แบบนี้สามารถเก็บพิกัดของรถไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ และยังสามารถเรียกดูตำแหน่งที่ปัจจุบันได้ และฉลาดถึงขนาดให้ออกคำสั่ง เช่นอ่านค่าจากระบบไฟฟ้า ระบบน้ำมัน กลับไปยังเครื่องGPS รถบรรทุกได้เลย เป็นต้น
ด้วยความล้ำทันสมัยของเทคโนโลยี GPS รถบรรทุกจึงทำให้ชีวิตและทรัพย์สินของเรามีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
